Author name: jintanaimr

สายที่2

สายที่ ๒ ชั้นที่ ๑-๒

พลโทและพลเรือตรี พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก  จารุจินดา) มีภรรยา ๔ คน มีบุตร-ธิดา  ๔ คน ดังนี้ + คุณหญิงสาย  มีบุตร-ธิดา  ๓ คน ๑. (ญ) สอาด จารุจินดา (๒.๒.๑) ๒. (ช) แฐม จารุจินดา (๒.๒.๒) ๓. (ญ) สอิ้ง จารุจินดา (๒.๒.๓) + อบเชย           (ไม่มีผู้สืบสกุล) + ชื่น                (ไม่มีผู้สืบสกุล) + ม.ล.หญิงจวง   ปาลกะวงศ์  มีธิดา  ๑ คน ๔. (ญ) เฉื่อย จารุจินดา (๒.๒.๔) สายที่ ๑ ชั้นที่ ๗ ← ก่อนหน้า | […]

ประวัติบรรพบุรุษ

พระยาศรีธรรมศุภราช (เจริญ จารุจินดา)

พระยาศรีธรรมศุภราช (เจริญ จารุจินดา) เป็นบุตรของ พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน จารุจินดา) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (เกตุทัต) เกิดเมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๘ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน มีพี่น้องร่วมบิดา ๑ คน พระยาศรีธรรมศุภราช ได้ถวายตัวทำราชการเป็นมหาดเล็กเวรศักดิ์ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ.๒๔๒๐ ฝึกหัดราชการอยู่ในกรมมหาดเล็ก พ.ศ.๒๔๒๙ เมื่อพระยาเพชรพิไชย ผู้บิดาเป็นข้าหลวงขึ้นไปประจำอยู่ประจำนครเชียงใหม่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปช่วยราชการบิดา ไปประจำราชการเมืองลำพูน และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นนายรองพลพัน ครั้นเสร็จราชการกลับมากรุงเทพฯ ไปรับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ๓ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็น ขุนพรหมรักษา ปลัดกรมทหารใน รับราชการอยู่ในตำแหน่งนี้ ๔ ปี พ.ศ.๒๔๔๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ขอตัวมารับราชการในกระทรวงมหาดไทย โดยไปรับตำแหน่งปลัดเมืองสุพรรณบุรี พ.ศ.๒๔๔๑ ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองชลบุรีว่างลง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปว่าราชการเมืองชลบุรี และพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็น พระยาชลบุรานุรักษ์ ในปี

ประวัติบรรพบุรุษ

เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาไชย (พร จารุจินดา)

เจ้าพระยาสุรบดินทรสุรินทรฦาไชย (พร จารุจินดา) เป็นบุตรของ พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน จารุจินดา) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (เกตุทัต) เกิดเมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๔๐๖ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน มีพี่น้องร่วมบิดา ๑ คน การศึกษา เมื่ออายุ ๑๑ ปี ได้เข้าศึกษาในโรงเรียนพระบรมมหาราชวังและในโรงเรียนสวนนันทอุทยาน การรับราชการ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๘ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วได้เข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น นายรองฉัน มหาดเล็กเวรศักดิ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๔๒๙ เลื่อนเป็น จ่าห้าวยุทธการ ในกรมพระตำรวจขวา (ได้ขี่ม้ารำทวนถวายทอดพระเนตรหน้าพลับพลา ในงานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทา คู่กับ คุณพิณเทพเฉลิม บุนนาค) พ.ศ.๒๔๓๘ ย้ายไปเป็นข้าหลวงเมืองฉะเชิงเทรา พ.ศ.๒๔๓๙ ย้ายมาเป็นเลขานุการของเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ๒ มกราคม ๒๔๔๐ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาอุทัยมนตรี ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ๒๑

ประวัติบรรพบุรุษ

ร้อยโท พระอภิรักษ์ราชอุทยาน (ถม จารุจินดา)

ร้อยโท พระอภิรักษ์ราชอุทยาน (ถม จารุจินดา) เป็นบุตรของ พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน จารุจินดา) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (เกตุทัต) มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน พี่น้องร่วมบิดา ๑ คน ตามที่ทราบ ร้อยโท พระอภิรักษ์ราชอุทยาน ถึงแก่กรรมเมื่ออายุประมาณ ๒๙ – ๓๐ กว่าปีเท่านั้น หลักฐานเท่าที่พบขณะนี้ ปรากฎว่า เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นจ่าห้าวยุทธการ ในกรมพระตำรวจขวา ถือศักดินา ๖๐๐ จากนั้นไม่ได้หลักฐานอะไรเพิ่มเติม ร้อยโท พระอภิรักษ์ราชอุทยาน มีภรรยา ๒ คน คนแรกไม่ทราบชื่อ มีบุตรธิดา ๒ คน คุณจันทร์ (วรวิเศษ) มีบุตร ๑ คน ไม่ทราบวันเกิดและวันถึงแก่กรรม

ประวัติบรรพบุรุษ

พลโท พลเรือตรี พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา)

พลโท พลเรือตรี พระยาเทพอรชุน (เจ๊ก จารุจินดา) เป็นบุตรของ พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน จารุจินดา) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (เกตุทัต) เกิดเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๙๕ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน มีพี่น้องร่วมบิดา ๑ คน การศึกษา เมื่ออายุ ๑๐ ปี ท่านบิดาได้จ้างครูมาสอนหนังสือไทยที่บ้าน และเล่าเรียนในการช่างทองในสำนักของท่านบิดาด้วย การรับราชการ พ.ศ.๒๔๐๙ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อายุ ๑๕ ปี ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กวิเศษ ทำราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ในเวรศักดิ์ พ.ศ.๒๔๑๒ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปหัดทวนหัวง้าวหลังม้าที่สำนักพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสิงหนารถ เป็นคู่ทวนคู่ง้าวกับเจ้าพระยาเทเวศร์วงษ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) ฝึกหัดอยู่ประมาณ ๑๐ เดือน ได้ออกงานถวายตัวในการพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สนามหน้าพลับพลาพระเมรุ ท้องสนามหลวง ทุกวันตลอดงาน เมษายน ๒๔๑๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกหัดวิชาทหารเป็นทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ได้เข้าฝึกหัดในสำนัก

ประวัติบรรพบุรุษ

พระยารัตนสมบัติ (แป๊ะ จารุจินดา)

พระยารัตนสมบัติ (แป๊ะ จารุจินดา) เป็นบุตรของ พระยาเพชรพิไชย (ทองจีน จารุจินดา) และคุณหญิงเย็น เพชรพิไชย (เกตุทัต) เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๓๗๙ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๑๐ คน มีพี่น้องร่วมบิดา ๑ คน พระยารัตนสมบัติ เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็น จ่าห้าวยุทธการ พ.ศ.๒๔๑๕ ได้เลื่อนเป็น หลวงราชโยธาเทพ เจ้ากรมทหารในซ้าย ถือศักดินา ๑๖๐๐ ต่อมาเลื่อนเป็น พระยารัตนโกษา เจ้ากรมพระคลังสินค้า แล้วเลื่อนเป็น พระยารัตนสมบัติ พระยารัตนสมบัติ มีภรรยา ๓ คน คุณเปลี่ยน มีบุตรและธิดา ๑๓ คน คุณพ่วง มีบุตรและธิดา ๓ คน คุณหญิงตาบทิพย์ทับทรวง บูรณะศิลปิน มีบุตรและธิดา ๖ คน พระยารัตนสมบัติ ถึงแก่กรรมเมื่อ

ประวัติบุคคลสำคัญสายที่1

อำมาตย์ตรี หลวงสิทธิพัฒนการี ( สำเริง จารุจินดา )

อำมาตย์ตรี หลวงสิทธิพัฒนการี ( สำเริง จารุจินดา ) เดิมชื่อ สำลี เป็นบุตรพระยารัตนสมบัติ ( แป๊ะ จารุจินดา ) และ คุณเปลี่ยน เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน 11 ปีขาล พ.ศ. 2421 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1๒ คน มีพี่น้องร่วมบิดา ๙ คน การรับราชการ กรมสรรพากร กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อำมาตย์ตรี หลวงสิทธิพัฒนการี มีภรรยา ๒ คน คุณแดง ( จารุจินดา ) มีธิดา ๑ คน คุณปรุง ( โอชาโย ) มีธิดา ๑ คน หลวงสิทธิพัฒนการี ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2503

ประวัติบุคคลสำคัญสายที่1

พระยาสุเรนทรราชเสนา ( เจิม จารุจินดา )

พระยาสุเรนทรราชเสนา ( เจิม จารุจินดา ) เป็นบุตรพระยารัตนสมบัติ ( แป๊ะ จารุจินดา ) และ คุณเปลี่ยน จารุจินดา มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 1๒ คน มีพี่น้องร่วมบิดา ๙ คน พระยาสุเรนทรราชเสนา เริ่มแรกรับราชการเมื่ออายุ 15 ปี ในกรมสรรพากร กรุงเทพฯ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนอาทรธนพัฒน์ ภายหลังย้ายไปรับราชการในต่างจังหวัดหลายจังหวัด ตามหัวเมืองทางภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน ลำพูน ต่อมาได้โอนไปรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ดำรงตำแหน่งปลัดมณฑล ประจำจังหวัดน่าน ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระอาทรธนพัฒน์ ต่อมาย้ายมาเป็นปลัดมณฑลประจำจังหวัดลำปางและได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุเรนทรราชเสนา คงรับราชการอยู่ที่จังหวัดลำปางเรื่อยมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2453 – 2474 ในระหว่างที่ปฏิบัติราชการอยูที่จังหวัดลำปางนั้น ได้มีโอกาสเป็นหัวหน้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลฝ่ายเหนือและมลฑลพายัพ พ.ศ. 2468 ตามหลักฐานจากหนังสือมณฑลที่ 7

Scroll to Top