เกิด – 6 ธันวาคม พ.ศ.2479
เป็นบุตร นายพิชัย จารุจินดา และหม่อมหลวงมณีพรรณ จารุจินดา มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 4 คน คือ
- นายฤาชัย จารุจินดา
- นายสิริชัย จารุจินดา
- รศ.ชาญชัย จารุจินดา
- นายศุภชัย จารุจินดา
รศ.ชาญชัย จารุจินดา สมรสกับ อาจารย์ประไพศรี จารุจินดา มีบุตร-ธิดา 4 คน ได้แก่
- น.ส.อาทิตยา จารุจินดา
- นายอดิศ จารุจินดา
- นาวาเอกอดิศร จารุจินดา
- นายอดิศัย จารุจินดา
การศึกษา
- ประกาศนียบัตรอาชีวศึกษาชั้นสูงแผนกก่อสร้าง โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย
- ปวส.(แผนกช่างก่อสร้าง) จากวิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ
- ปม.จากวิทยาลัยเทคนิค กรุงเทพฯ
- S.C.E. จาก Adamson University ประเทศฟิลิปปินส์
- S.Arch. จาก Far Eastern University ประเทศฟิลิปปินส์
- A. จาก Adamson University
การรับราชการ
- 3 กรกฎาคม 2503 จนเกษียณอายุราชการ
- วิทยาลัยครูอาชีวศึกษา วิทยาเขตเทเวศร์
- วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา
- หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
- งานวิชากรและบริการ
ตำราที่ออกวางตลาดและเผยแพร่
- ทฤษฎีโครงสร้าง
- การออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
- ได้รับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทวุฒิวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา
- เป็นวิศวกรที่ปรึกษาบริษัทต่างๆ ดังนี้
- บริษัท สง่าฤาชา จำกัด
- บริษัท ป.ปกรณ์ จำกัด
- บริษัท ส.พรประเสริฐ จำกัด
- บริษัท ราชกิจภิญโญ จำกัด
ปรัชญาชีวิต – ยินดีเป็นผู้ให้ มากกว่าเป็นผู้รับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- เบญจมาภรณ์ช้างเผือก บ.ช. พ.ศ.2512
- จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย จ.ม. พ.ศ.2514
- จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช. พ.ศ.2518
- ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ต.ม. พ.ศ.2520
- ตริตาภรณ์ช้างเผือก ต.ช. พ.ศ.2524
- ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม. พ.ศ.2533
- ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช. พ.ศ.2534
- ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ป.ม. พ.ศ.2537
- ประถมาภรณ์ช้างเผือก ป.ช. พ.ศ.2540
รศ.ชาญชัย จารุจินดา เป็นผู้อุทิศชีวิตและทุ่มเทให้กับการเป็นอาจารย์ผู้ ‘ให้’ ตลอดชีวิต เป็นผู้ที่ได้รับความเคารพและรักใคร่จากลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ลูกศิษย์ทั่วไปเรียกท่านว่า ‘พ่อ’ นับถือเป็นพ่อคนที่สอง จากการที่ท่านเป็นผู้ที่ให้นอกจากให้วิชาความรู้ในวิชาการแล้ว ท่านยังให้ประสบการณ์ ความรัก ความห่วงใย ให้คำปรึกษาทั้งเรื่องการเรียน ทั้งเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ แก่ลูกศิษย์ ท่านสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษา นอกจากนี้ ยังมีการแจกทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ กระทั่งท่านและลูกศิษย์ได้ร่วมกันจัดตั้ง มูลนิธิชาญชัย จารุจินดา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่เรียนดีแต่ยากจน
รศ.ชาญชัย จารุจินดา ถึงแก่อนิจกรรม ณ โรงพยาบาลธนบุรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน 2547 ได้รับพระราชทานโกศแปดเหลี่ยม ฉัตรเบญจาตั้งประดับประกอบเกียรติยศ และพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม 3 คืน ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ และทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเพลิงศพ ในวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2550 ณ เมรุวัดมกุฎกษัตริยาราม